หลักสูตรสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทํางาน
(Cooperative and Work Integrated Education: CWIE)
๑. ความหมายของหลักสูตร CWIE
Cooperative and Work Integrated Education หรือ CWIE คือ หลักสูตรการเรียนการสอน ในลักษณะร่วมผลิตระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานภายนอก” เพื่อให้บัณฑิตพร้อมสู่โลกแห่งการทํางาน จริงได้ทันที มีสมรรถนะตรงกับความต้องการของตลาดงาน สามารถพัฒนาอาชีพในปัจจุบันและเตรียมพร้อม รองรับตําแหน่งงานในอนาคต
สหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทํางาน (Cooperative and Work Integrated Education: CWIE) จึงเป็นหนึ่งในกลไกการจัดการเรียนการสอนที่สถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานภายนอก ดําเนินการร่วมกันอย่างเป็นระบบ โดยให้นักศึกษาได้เรียนรู้ในสถาบันอุดมศึกษาควบคู่กับการปฏิบัติงานจริงใน หน่วยงานภายนอก (Work-based Learning) ในทุกรูปแบบ ที่ทําให้นักศึกษามีสมรรถนะ (ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skills) ทัศนคติ (Attitudes) และค่านิยม (Values)] และคุณลักษณะตรงกับความต้องการของตลาดงาน และพร้อมสู่โลกแห่งการทํางานจริง โดย CWIE เป็นคําที่ครอบคลุมถึงสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับ การทํางาน ในรูปแบบต่างๆ เช่น Sandwich Course, Practicum, Post-course Internship เป็นต้น
โดยสมาคมสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทํางานโลก (World Association for Cooperative & Work-Integrated Education: WACE) ได้จัดให้ประเทศต่างๆ ได้ลงนามในกฎบัตรสากลว่าด้วย สหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทํางาน (The Global Cooperative and Work Integrated Education Charter) เมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๖๒ เพื่อแสดงเจตนารมณ์และร่วมกันผลักดันให้อุดมศึกษาทั่วโลก ปรับทิศทางการเรียนการสอนเป็นการจัดหลักสูตร CWIE เพื่อสร้างบัณฑิตให้มีสมรรถนะพร้อมสู่โลก แห่งการทํางานในโลกยุคใหม่และเคลื่อนย้ายไปเรียนและทํางานในประเทศต่างๆ และมีเป้าหมายให้นักศึกษา ทุกคนมีโอกาสเข้าถึงการได้รับการศึกษาเชิงประสบการณ์อย่างเท่าเทียมและมีโอกาสแลกเปลี่ยนการปฏิบัติงาน CWIE ในต่างประเทศมากยิ่งขึ้น
๒. แนวทางและกระบวนการจัดหลักสูตร CWIE
การจัดหลักสูตร CWIE อย่างเป็นระบบและมีมาตรฐาน จะต้องดําเนินการตามแพลตฟอร์ม Manpower Demand Driven Education Platform for Employability and Career Development through Cooperative and Work Integrated Education (CWIE): University - Workplace Engagement ซึ่งมีกระบวนการสําคัญ ๕ กระบวนการ ขับเคลื่อนภายใต้ความร่วมมือแบบจตุภาคี (สถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานภาครัฐ/เอกชน และชุมชน ท้องถิ่น) ดังนี้
๒.๑ Information เป็นการให้ข้อมูลเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ตรงกันของนักศึกษา สถาบัน อุดมศึกษาและหน่วยงานภายนอก เกี่ยวกับแนวคิด มาตรฐาน การบริหารจัดการและประโยชน์ของ CWIE โดยมุ่งหวังให้เกิดอุดมการณ์ร่วมและขยายผลไปสู่การเพิ่มปริมาณและมาตรฐานการผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะและ ตรงตามความต้องการของนักศึกษาและผู้จ้าง
๒.๒ Matching เป็นการสร้างเวทีจับคู่ความร่วมมือระหว่าง Demand และ Supply โดยผ่าน ฐานข้อมูล CWIE ของสํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่ออํานวย ความสะดวกในการศึกษาและค้นหาข้อมูลซึ่งกันและกันผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ข้อมูลหลักสูตร จํานวน นักศึกษา สถานที่ปฏิบัติงาน ตําแหน่งงาน สมรรถนะที่จะร่วมผลิต ค่าตอบแทน/สวัสดิการที่นักศึกษาจะได้รับ รวมทั้งติดตามภาวะการมีงานทําของบัณฑิต ซึ่งเป็นฐานข้อมูลกลางและเป็นข้อมูลที่ใช้เพื่อประโยชน์เชิงนโยบาย
๒.๓ Co-designing and Implementation หัวใจสําคัญของ CWIE คือ สมรรถนะของนักศึกษา เมื่อจับคู่ความร่วมมือแล้ว ทั้งสองฝ่ายจะต้องร่วมกันออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอนและผลลัพธ์นักศึกษา ในรูปของสมรรถนะและระบบบริหารจัดการ บทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย เช่น การเตรียมความพร้อมนักศึกษา ก่อนไปปฏิบัติงาน ระบบคณาจารย์นิเทศ ระบบพี่เลี้ยงในหน่วยงานภายนอก ระบบประเมินสมรรถนะ ระบบ ค่าตอบแทน สวัสดิการ ความปลอดภัย เป็นต้น
๒.๔ Assessment and development เป็นการสอบทาน การประเมินผลลัพธ์นักศึกษาหรือ สมรรถนะนักศึกษา รวมทั้งระบบบริหารจัดการ ปัญหาอุปสรรค เพื่อการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาตามวงจร คุณภาพ PDCA
๒.๕ Outreach Activities เป็นการต่อยอดและยกระดับ CWIE เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับนักศึกษา สถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานภายนอก เช่น การพัฒนาอาชีพแห่งอนาคต (Career for the Future) การจัด International CWIE การยกระดับนักศึกษาเป็นผู้ประกอบการ การยกระดับหน่วยงานภายนอกด้วยการวิจัย เชิงลึกร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา เป็นต้น
๓. หลักการของหลักสูตร CWIE (๔ Key Characteristics of CWIE)
๓.๑ University - Workplace Engagement เป็นความร่วมมือร่วมกันของสถาบันอุดมศึกษากับ หน่วยงานภายนอกในการผลิตบัณฑิตให้มีสมรรถนะพร้อมสู่โลกแห่งการทํางาน สอดคล้องกับความต้องการของ ตลาดงานในปัจจุบันและอนาคต
๓.๒ Co - design Curriculum เป็นการร่วมออกแบบหลักสูตรที่เน้นสมรรถนะของนักศึกษา ที่เชื่อมโยง โลกของการศึกษากับโลกของการประกอบอาชีพ โดยการสร้างความสมดุลระหว่างวิชาการ วิชาชีพและวิชาชีวิต
๓.๓ Competency - based Education เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งสร้างสมรรถนะ ฝึกแก้ปัญหา มีการวัดผลและประเมินระดับสมรรถนะที่เป็นระบบ
๓.๔ Experiential - based Learning ต้องมีการปฏิบัติงานจริงและประเมินการปฏิบัติงานจริง และมี กระบวนการสร้างการเรียนรู้ในหน่วยงานภายนอก
๔. รูปแบบของการจัดหลักสูตร CWIE
๔.๑ แบบเรียนภาคทฤษฎี ก่อนไปปฏิบัติงาน (Separate) เป็นการเรียนภาคทฤษฎีที่ สถาบันอุดมศึกษาจนครบตามกําหนด หลังจากนั้นจึงไปปฏิบัติงานในหน่วยงานภายนอกตามระยะเวลาที่กําหนด เช่น สหกิจศึกษา เป็นต้น
๔.๒ แบบเรียนภาคทฤษฎีสลับกับไปปฏิบัติงาน (Sandwich) เป็นการเรียนในสถาบันอุดมศึกษาสลับ กับการไปปฏิบัติงานจริงในหน่วยงานภายนอกตลอดระยะเวลาการเรียนในหลักสูตรนั้นๆ เช่น Sandwich Program เป็นต้น
๔.๓ แบบผสมผสาน (Mix) เป็นการเรียนภาคทฤษฎีในสถาบันอุดมศึกษาส่วนหนึ่ง และการเรียน ภาคทฤษฎีพร้อมการปฏิบัติงานจริงในหน่วยงานภายนอกอีกส่วนหนึ่ง เป็นการจัดหลักสูตรในรูปแบบผสมระหว่าง แบบที่ ๕.๑ และแบบที่ ๕.๒ เช่น การจัดการเรียนรู้โดยใช้การทํางานเป็นฐาน กรณีศึกษาเกาะสมุยโมเดล (Samui Model) ของสาขาวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นต้น
ทั้งนี้ การจัดหลักสูตร CWIE ทั้ง ๓ รูปแบบต้องเป็นความร่วมมือจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนานักศึกษา ระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับหน่วยงานภายนอก
* หน่วยงานภายนอก หมายถึง ผู้ประกอบการภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และชุมชน (ตาม พรบ.การ อุดมศึกษา พ.ศ. 2562 มาตรา 28 และมาตรา 35)